
“ค่าขนส่ง และภาษีที่แอบแฝง”
เมื่อนิติบุคคลจ่ายค่าขนส่ง เราจะมีภาษีที่เกี่ยวข้องหลักๆ 2 ส่วน นั่นคือภาษีมูลค้าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ต้องพิจารณาก่อนว่าค่าขนส่งที่เราจ่ายออกไปนั้น เป็นค่าขนส่งหรือไม่?
สำหรับกิจการที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการรับจ้างขนส่งสาธารณะ จะไม่ต้องเสีย VAT และถูก หัก ณ ที่จ่ายที่ 1% แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีใบอนุญาต หากว่ากิจการประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุรกิจ ก็จะเข้าลักษณะเดียวกัน
อย่างไรก็ตามหากว่ากิจการประกอบธุรกิจประเภทอื่น เช่น
1. ขายสินค้าแต่มีการเก็บค่าขนส่งด้วย ในส่วนนี้จะมองต่างออกไป โดยจะมองว่าเป็นการขายสินค้า ซึ่งจะไม่ถูกหัก ณ ที่จ่าย แต่จะมีภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ว่านี้จะคิดจากมูลค่าของสินค้ารวมกับค่าขนส่ง
2. การให้บริการร่วมกับการขนส่ง เช่น ค่าขนส่งจากการส่งของเพื่อซ่อมแซม ในส่วนนี้จะมองรวมเป็นค่าบริการ ทำให้มีภาระต้องเสียทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการรวมกับค่าขนส่ง อีกทั้งต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 3% จากการมูลค่ารวมด้วย
ดังนั้น ค่าขนส่งจึงมักเป็นรายการที่สร้างความสับสนได้ง่าย ทั้งในเรื่องของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม เราจึงต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างละเอียด เพื่อให้สามารถจำแนกและนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
Comments