top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPichaya Lohakul

“จ่ายค่าโฆษณา Google, Facebook เสียภาษีอะไรบ้าง???"



เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเห็นการโฆษณาผ่าน Google หรือ Facebook กันมาบ้าง ซึ่งในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น หากว่าเราต้องการจะให้กิจการของเราขึ้นโฆษณาแบบนั้นบ้าง แต่นอกเหนือจากค่าโฆษณาที่เราจ่ายออกไปแล้วนั้น เราต้องระวังค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องที่จะตามมาด้วย สิ่งนั้นคือ “ภาษี”

ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงภาษีที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นจุดสำคัญที่ทางสรรพากร มักใช้เป็นจุดเรียกค่าปรับจากกิจการ เพราะผู้ประกอบการอาจไม่ทราบว่าภาระภาษีที่เกิดขึ้นนี้ ผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชอบ


สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องเมื่อกิจการมีการจ่ายเงินออกไปยังต่างประเทศโดยส่วนใหญ่จะมีภาษีที่เกี่ยวข้องดังนี้


1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ค่าโฆษณา สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในกิจการได้ ทั้งนี้จะต้องมีเอกสารประกอบครบถ้วน มีการจ่ายเงินจริง และต้องเป็นการจ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท จะทำให้ค่าใช้จ่ายนี้ไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม และสามารถใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้


2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 54)

สำหรับค่าโฆษณา ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทั้งนี้เนื่องจาก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 70 การหัก ณ ที่จ่ายจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นเงินได้ มาตรา 40 (2) – (6) ซึ่งค่าโฆษณา เป็นเงินได้ 40(8) ทำให้ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทั้งนี้หากเป็นค่าใช้จ่ายประเภทอื่นจะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าเป็นการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2)-(6) หรือไม่


3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

สำหรับค่าโฆษณา หรือค่าบริการที่จ่ายให้นิติบุคคลต่างประเทศ แต่ใช้บริการในประเทศไทย (มาตรา 77/2) ต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการมักโดนค่าปรับในส่วนนี้จากสรรพากรเมื่อโดนตรวจ เนื่องจากเป็นภาระภาษีที่เกิดขึ้นโดยที่กิจการต้องเป็นผู้จัดการเองทั้งหมด ทั้งนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มจะคำนวณโดยการใช้ค่าบริการที่จ่ายออกไป แปลงเป็นสกุลเงินไทยตามที่จ่ายจริง จากนั้นคูณด้วยอัตราภาษี 7% แล้วนำเงินจำนวนดังกล่าว ยื่นสรรพากรเช่นเดียวกับ ภ.พ. 30 แต่ใช้ ภ.พ. 36 ในการยื่นภาษีแทน โดยถือเอาใบเสร็จ ภ.พ. 36 ที่ได้รับ ใช้ยื่นขอคืนภาษีซื้อใน ภ.พ. 30 ได้ในเดือนถัดไปเท่านั้น (ไม่สามารถใช้ภายใน 6 เดือนได้เหมือนภาษีซื้ออื่น เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ให้ยื่นล่าช้าได้)


ดังนั้น เมื่อมีการจ่ายค่าบริการอะไรก็ตามไปยังนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องพิจารณาภาษีที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อกิจการในภายหลัง

ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page